วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ข่าวสารเทคโนโลยี

นวัตกรรม พัดลมไอน้ำ - ฉลาดคิด
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2555 เวลา 00:05




          ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนไทยในเกือบทุกภูมิภาคต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน และสภาพอากาศที่แปรปรวน ยังไม่รวมอีกหลายประเทศที่ต้องพบเผชิญกับอากาศร้อนจัด และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนนับร้อย

              กลับกันในประเทศไทยสภาวการณ์ดังกล่าว กำลังสร้างช่องทางธุรกิจใหม่สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ทำความเย็นนอกอาคารและผู้ผลิตพัดลมไอน้ำของประเทศไทย ให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเทคโนโลยีในด้านนี้  เมื่อพัดลมไอน้ำสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด และกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานกลางแจ้ง ทดแทนเครื่องปรับอากาศ และเป็นได้มากกว่าสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือยอย่างที่หลายคนเคยมอง  


                          นพชัย วีระมานกรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสเตอร์คูล อินเตอร์เนชั่นแนล  ผู้ผลิตพัดลมไอน้ำฝีมือคนไทย บอกว่า สนใจในเทคโนโลยีพัดลมไอน้ำตั้งแต่ยุคบุกเบิก เนื่องจากเห็นว่ามีช่องทางการตลาดที่มีศักยภาพในหลาย ๆ ประเทศแต่เนื่องจากพัดลมไอน้ำมีต้นแบบมาจากต่างประเทศ  ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตยังคงถูกปิดเป็นความลับทางการค้า ดังนั้นการจะพัฒนาสินค้าเป็นของตัวเองจึงต้องเริ่มต้นจากศูนย์ นพชัย บอกว่า ใช้เวลากว่า 1 ปีในการศึกษาข้อมูล และพัฒนาเทคโนโลยีพัดลมไอน้ำเป็นของตัวเอง จนกระทั่งพบว่าการจะทำให้พัดลมไอน้ำสามารถพ่นละอองฝอยขนาดเล็ก ให้ประสิทธิภาพสูงในการทำความเย็นนั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพอสมควรด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงขอเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สวทช. ผ่านโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือไอแทป ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีให้แก่บริษัท จนสามารถผลิตพัดลมไอน้ำที่เป็นละอองฝอย ทดแทนพัดลมไอน้ำแบบเดิมที่เป็นหยดน้ำขนาดใหญ่ทำให้ผู้ใช้เปียก จนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบตัวแรกออกจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันบริษัท สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายจากการต่อยอดเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาเทคนิคสร้างละอองหมอกเพื่อลดอุณหภูมิ   เทคโนโลยีใหม่สำหรับพัดลมไอน้ำระบบเซนทริฟูกัลฟอร์ซ พัฒนาระบบอินเวอร์เตอร์สำหรับควบคุมปั๊มน้ำของพัดลมให้มีต้นทุนต่ำ บำรุงรักษาง่าย ตลอดจนนวัตกรรมพัดลมไอน้ำ พัดลมไอเย็น พัดลมระบายอากาศ  ระบบสร้างบรรยากาศสั่งทำตามต้องการและ ระบบประหยัดการใช้พลังงาน หรือโอ-คูลด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ  สวทช. กล่าวว่า  สวทช. มีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านมา ได้รวบรวมองค์ความรู้และงานวิจัยที่ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สำหรับโครงการที่ สวทช. ได้ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีกับ บริษัท มาสเตอร์คูลฯ นั้นเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มพัดลมไอน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้งในประเทศไทย  อีกทั้งกินไฟต่ำ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค            ความร่วมมือดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดย สวทช. ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมพัฒนาและออกแบบระบบสร้างละอองน้ำแบบจานหมุนความเร็วสูงที่อาศัยแรงเหวี่ยงจากจุดศูนย์กลาง  สำหรับพัดลมไอน้ำระบบเซนทริฟูกัล ฟอร์ซ  ซึ่งนำมาสู่การสร้างพัดลมละอองน้ำจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551  ความสำเร็จนี้นำมาสู่การโครงการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาอินเวอร์เตอร์สำหรับพัดลมไอหมอกและพัดลมอัดหมอก ซึ่งจะทำให้ได้พัดลมไอน้ำที่มีคุณภาพละอองน้ำดีขึ้น  สามารถควบคุมความเร็วการหมุนของมอเตอร์ได้ ช่วยลดการนำเข้าปั๊มน้ำ อีกทั้งได้ปั๊มน้ำแรงดันสูงที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ประหยัดพลังงาน หรือค่าไฟฟ้า ได้มากกว่า 30%   ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า ด้วยสภาพของความเป็นเมืองร้อน จึงทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งที่แบรนด์เครื่องปรับอากาศเข้ามาทำตลาด อีกทั้งยังเป็นฐานการผลิตใหญ่ของหลายต่อหลายแบรนด์ และกลายเป็นแหล่งผลิตของ นวัตกรรมทางด้านความเย็น ทางเลือกใหม่อีกหลายชนิดโดยนอกเหนือจากเครื่องปรับอากาศทั้งภายในภายนอกแล้ว ปัจจุบันยังมีหลากหลายแบรนด์พัดลมไอน้ำ โดยเฉพาะแบรนด์ที่เกิดจากฝีมือคนไทย ที่เริ่มมีการปรับตัวและเข้าสู่ตลาดนี้อย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่ง มาสเตอร์คูล ถือเป็นอีกหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำที่ประสบความสำเร็จจากการผลิตสินค้าที่พัฒนาเทคโนโลยีตอบโจทย์ผู้ใช้เป็นอย่างดี หากผู้ประกอบการรายใดสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางการผลิตและบริการ   สามารถติดต่อได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ของ สวทช. โทร. 0-2564-8000.

อ้างอิงข้อมูลจาก   http://www.mict.go.th/more_news.php?cid=10


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น