วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้


ชื่อนวัตกรรม:  กิจกรรมการเรียนการสินวิชารูปเรขาคณิตโดยใช้โปรแกรม   GSP
ใช้สอนเรื่อง: ใช้สอนเราองรูปเรขาคณิต
เหมาะสมสำหรับนักเรียน:  ชั้นประถมศึกษาปีที่   2
แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้  คือ
ในปัจจุบันนี้คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ และมนุษย์ได้ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์
ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างมีระบบและระเบียบแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน สามารถคาดการณ์  วางแผน  ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้  อีกทั้งคณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ศึกษาเกี่ยวกับแบบรูปและความสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปและการนำไปใช้ประโยชน์ เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นภาษาสากลที่สามารถใช้เพื่อการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างศาสตร์ต่างๆ ได้ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องยึดหลักที่ว่านักเรียนมีความสามารถสามารถเรียนรู้ละพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดจึงเหมาะสมอย่างยิ่งในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพราะเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากในด้านการศึกษานักเรียนจึงจำเป็นจะต้องได้รับการเรียนรู้ที่หลากหลายมีความทันสมัย เพื่อที่จะได้ทันเหตุการณ์ การเรียนการสอนทุกวันนี้นักเรียนเรียนเยอะมากขึ้นก็เป็นปัญหาที่ว่าครูจะต้องทำยังไงให้การเรียนการสอนในห้องที่มีนักเรียนเยอะแต่นักเรียนสามารถได้รับการเรียนรู้ได้ทั่วถึงจึงจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสทธิภาพมากขึ้น

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
             http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html   กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงและเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
         http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712 
กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
         ภิดานันท์ มลิทอง (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนเป็นเทคนิคขยายความคิดของข้อความหลายมิติใน เรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงและมีเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกที่เป็นภาพนิ่งและเป็นภาพเคลื่อนไหวภาพสามมิติ ภาพถ่ายเสียงพูด เสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม
        สรุป
        สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนเป็นเทคนิคขยายความคิดของข้อความหลายมิติใน เรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงและมีเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกที่เป็นภาพนิ่งและเป็นภาพเคลื่อนไหวภาพสามมิติ
          เอกสารอ้างอิง
URL:http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม  2554
URL:http://www.learners.in.th/blog/tasana/259712  เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม  2554
ภิดานันท์ มลิทอง. สื่อหลายมิติในการจัดการเรียนการสอน กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. 269หน้า. 

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอน

สื่อการสอน
        http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194
     ได้กล่าวว่าสื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอดและยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งนักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่างเช่นอุปกรณ์การสอนโสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน       
1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1
วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2
วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2.
สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.
สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ
         http://board.atcomink.com/show.php?Category=cai&No=188  ได้กล่าวว่านักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ
สื่อการสอนไว้อย่างหลากหลาย เช่น    
     - ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน    
    - บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น    
    - เปรื่อง กุมุท กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้
เป็นอย่างดี    
    - ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมายสื่อการสอนว่า
 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังมีคำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอนเป็นต้นว่าสื่อการเรียนหมายถึงเครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอนเร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้เกิดความเข้าใจดีขึ้นอย่างรวดเร็วสื่อการศึกษาคือระบบการนำวัสดุและวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไปโสตทัศนูปกรณ์หมายถึงวัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใดก็ตามเพื่อช่วยให้การเขียนการพูดการประเภทของสื่อการสอน   
    - เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้
     โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1.
วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2.
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3.
โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น อภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
       images.destruction127.multiply.multiplycontent.com/.../งานส่ง.doc?key
ได้กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
    
ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
    
สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
          1.
เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
          2.
วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
          3.
เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ
หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น
     สรุป
    สื่อการสอนคือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพรวมถึงวิธีการสอนและเทคนิคการสินต่างๆที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนและความเพลิดเพลินกับการเรียนไม่ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
ประเภทของสื่อการสอน ก็จะมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์  วัสดุ  และเทคนิคหรือวิธีการ
    เอกสารอ้างอิง
URL:http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194  เข้าถึงเมื่อวันที่  25  กรกฎาคม  2554
URL:http://board.atcomink.com/show.php?Category=cai&No=188  เข้าถึงเมื่อวันที่  25  กรกฎาคม  2554
URL:images.destruction127.multiply.multiplycontent.com/.../งานส่ง.doc?key
เข้าถึงเมื่อวันที่  25  กรกฎาคม  2554