วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)    
       http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ ความรู้มีหลายประเภทบางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้อง
ใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมากจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูงหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด ขั้น   ดังนี้ 
ขั้นที่   สร้างความสนใจ (Gaining attention) 
ขั้นที่   แจ้งจุดประสงค์ (Informing the learning) 
ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) 
ขั้นที่  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
ขั้นที่  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
ขั้นที่  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
      http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1
ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gagne ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจแล้วสรุปเป็น 8 ขั้นตอนในการเรียนรู้
 1.  การเรียนรู้สัญญาณ ( Sign  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ  เช่น  จกการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัขเมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ  Pavlov การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา  ได้แก่  การกระพริบตา  เมื่อมีของมากระทบตาเรา
2.  การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ( Stimulus  Response  Learning ) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ของร่างกายต่อสิ่งเร้า เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง  เช่น การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ  Skinner
3.  การเรียนรู้การเชื่อมโยง( Chaining ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะเช่น  การเขียน  การอ่าน  การพิมพ์ดีด  และการเล่นดนตรี  เป็นต้น
4.  การเชื่อมโยงทางภาษา ( Verbal  Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด  แล้วจึงใช้ตัวอักษรเช่น การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย
 5.  การแยกประเภท( Multiple  Discrimination  Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนองผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกันเป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษาสามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้
 6.  การเรียนรู้ความคิดรวบยอด  ( Concept  Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ เช่นเมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง  การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสารบันเทิงได้
 7.  การเรียนรู้หลักการ  ( Principle  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กันแล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน
 8.  การเรียนรู้การแก้ปัญหา  ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน  เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้
    http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7   ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
     สรุป
      ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวกับทฤษฎีนี้คือความรู้มีหลายประเภทบางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดมากมายแต่บางประเภทนั้นอาจจะต้องใช้ความคิดและความสามารถในขั้นสูงเลยทีเดียวเพราะเป็นความรู้ที่มีความละเอียดแซบซ้อนมาก
      เอกสารอ้างอิง
URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  เข้าถึงเมื่อวันที่  24  กรกฎาคม  2554
URL:http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1  เข้าถึงเมื่อวันที่ 24  กรกฎาคม  2554
URL:http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7  เข้าถึงเมื่อวันที่ 24  กรกฎาคม  2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น