ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่านักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดี – ไม่เลวการกระทำต่างของมนุษย์เกิดจาก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulusresponse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดสามารถวัดและทดสอบได้ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:18) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าไว้ว่า
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's connectionism)
- กฎแห่งความพร้อม (Law of readiness)ที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise) ที่ว่าการฝึกหัดหรือการกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
- กฎแห่งการใช้ (Law of use and disuse) ที่ว่าการเรียนรูเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
- กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไปแต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือแบบอัตโนมัติ (Classical conditioningtheory) ของพาฟลอฟ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่เป็นธรรมชาติจะลดลงเรื่อยๆและหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่เป็นธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติและจะกลับปรากฎขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
- มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนองเหมือนๆกัน
- บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
- กฎแห่งการหยุดหยั่งพฤติกรรม (Law of extinction) ที่ว่าหากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางงื่อนไขอย่างเดียวหรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้นความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆ
- กฎแห่งการฟื้นมาใหม่ของพฤติกรรม (Law of spontaneousrecovery) ที่ว่าการตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่กัน
- กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ (Law of Generalization) ที่ว่าเมือ่เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้วหากมีสิ่งเร้าคล้ายๆกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมากระตุ้นอาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกัน
- กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of discrimination) ที่ว่าหากมีการใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายแบบแต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้นก็สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสามารถแยกความแตกต่างและเลื่อกตอบสนองเฉพาะสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเท่านั้นได้
3. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioningtheory) ของสกินเนอร์
- การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
- การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
- การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
- การให้แรงเสริมหรืให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรูของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเกิดจากเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดสามารถวัดและทดสอบได้ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยง
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือแบบอัตโนมัติ
3. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
เอกสารอ้างอิง
URL: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2554
URL: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2554
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์.(2552).80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น กรุงเทพฯ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น